ประวัติโรงเรียน
ประวัติโรงเรียน
 

โรงเรียนวัดสถิตย์ชลธาร ตั้งขึ้นเมื่อวันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๔๗๗ โดยอาศัยศาลาวัดสถิตย์ชลธารเป็นสถานที่เล่าเรียน  โดยจัดเป็นโรงเรียนประเภทในวัด พระภิกษุกล่ำ สุจโจ เป็นผู้สอน  ๑ เมษายน ๒๔๗๘ บรรจุ นายเชือน  นวลศรี เข้าเป็นครูโรงเรียนนี้

       ๑ พฤศจิกายน ๒๔๗๗๘ นายเชือน  นวลศรี ย้ายไปเป็นครูโรงเรียนประชาบาลตำบลบางเขา ๑ และได้ย้าย นายกล่ำ พันธวงศ์ ต่อมานายกล่ำ พันธวงศ์  ได้ลาออกทางราชการแต่งตั้งนายเจะอุเซ็ง        เจะสอเหาะ ครูใหญ่โรงเรียนประชาบาลตำบลตุยง ๑ มาเป็นครูใหญ่โรงเรียนวัดสถิตย์ชลธารและ ย้ายที่เรียนจากวัดสถิตย์ชลธารไปอาศัยเรือน นายมะเซง สาแม ในหมู่ที่ 1 เป็นสถานที่เรียน แต่การเดินทาง นักเรียนไม่สะดวก โต๊ะอิหม่ามผู้ดูแลสุเหร่าในหมู่ที่ ๒ อนุเคราะห์สุเหร่าเป็นสถานที่ทำการ     

       ๑ มกราคม ๒๔๗๙ นายเจะอุเซ็ง เจะสะเหาะ ครูใหญ่ นายเจะเละ กำนันพร้อมด้วยราษฎรในท้องถิ่น ช่วยกันปลูกสร้างโรงเรียนชั่วคราวขึ้นหนึ่งหลังและได้ย้ายสถานที่เรียนจากสุเหร่ามาทำการสอนในอาคารเรียนที่สร้างขึ้นใหม่

       ๑๗ มกราคม ๒๔๗๙ แต่งตั้ง นายแก้ว พวงศร ครูประชาบาลตำบลตุยง ๑ มาเป็นครูโรงเรียนนี้
๑ กรกฎาคม ๒๔๗๙ บรรจุ นายเสงี่ยม พรหมสุวรรณ เป็นครูใหญ่โรงเรียนประชาบาลตำบลตุยง ๑ และนายเชือน  นวลศรี ครูใหญ่โรงเรียนประชาบาลตำบลบางเขา ๑ มาเป็นครูที่โรงเรียนนี้ ต่อมา นายเชือน  นวลศรี  ได้ลาออกจากราชการ

       ๑ พฤศจิกายน ๒๔๘๑ นายแก้ว พวงศร ลาออก แต่งตั้งนายแวอุเซ็ง  เบ็ญบือราเฮง (สมควร วิวัฒนศิลป์) ครูใหญ่โรงเรียนประชาบาลตำบลท่ากำชำ ๓ มาช่วยสอนชั่วคราว

       ๑๔ เมษายน ๒๔๘๒ แต่งตั้งนายจำลอง  สุวรรณยุหะ ครูประชาบาล ตำบลดอนรัก ๑ มาประจำโรงเรียนนี้

       ๒๑ ธันวาคม ๒๔๘๒ บรรจุนางสาวเสงี่ยม  สุวรรณพิทักษ์  เป็นครูโรงเรียนนี้

       ๘ มกราคม ๒๔๘๓  โอนนายจำลอง  สุวรรณยุหะ ไปเป็นสารวัตรศึกษาประจำอำเภอหนองจิก
      ๑๓ กรกฎาคม ๒๔๘๕ บรรจุนายผุด  ยมานนท์  เข้าเป็นครู แต่งตั้งไปปฏิบัติงานที่จังหวัด
นายผุด  ยมานนท์ ลาออกเพื่อไปรับราชการในตำแหน่งเสมียนแผนกศึกษาธิการจังหวัด นายเอื้อน    สุวรรณมูลิก  สารวัตรศึกษาประจำอำเภอหนองจิกมาทำหน้าที่แทนแต่ตัวต้องไปปฏิบัติงานที่จังหวัดเนื่องจากกระทรวงมหาดไทยได้เปลี่ยนแปลงเขตตำบลและหมู่บ้านใหม่ตำบลบางตาวาถูกยุบรวมกับตำบล ตุยงโรงเรียนจึงเปลี่ยนชื่อใหม่ว่า “ โรงเรียนประชาบาลตำบลตุยง ๔” (วัดสถิตย์ชลธาร)

       ๑ กรกฎาคม ๒๔๘๖  นายจรัล  เจะสอเหาะ  ครูใหญ่ลาออกและบรรจุนางสาววิจิตร  บุญเซ่งซ้าย
(วิจิตร  โสภาพงศ์) เข้าเป็นครู นายคง ประชุมชนะ ย้ายมาเป็นครูโรงเรียนนี้แต่ได้ขอลาออกไปเพื่อประกอบอาชีพอื่น

       ๔ กันยายน ๒๔๘๘ แต่งตั้งนายเพชร  หนูดี มาเป็นครูใหญ่

       ๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๐ บรรจุนายชูศักดิ์  ขวัญเมือง เข้าเป็นครู

       ๒๐ พฤศจิกายน ๒๔๙๑ ย้ายนางสาวเสงี่ยม  สุวรรณนิตย์ (เสงี่ยม  รอดประไพ) ไปเป็นครูประชาบาลตำบลดอนรัก ๑ ( บ้านดอนรัก )

       ๒๓ กรกฎาคม ๒๔๙๒ แต่งตั้งนางอนงค์  สืบประดิษฐ์ ครูสังกัดอำเภอยะหริ่ง มาดำรงตำแหน่งครูโรงเรียนนี้ตามหนังสืออำเภอที่ ๑๓๑๔/๒๔๙๓ ลงวันที่ ๑๙ กรกฎาคม ๒๔๙๓

       ๑๖ เมษายน ๒๔๙๓ บรรจุนายประยูร  ดือราแม เข้าเป็นครูสอนภาษามาลายูและศาสนาอิสลาม ตามหนังสืออำเภอที่ ๗๗๕/๒๔๙๓ ลงวันที่ ๑๑ เมษายน ๒๔๙๔ สิงหาคม ๒๔๙๔ นายเพชร  หนูดี ครูใหญ่ย้ายไปเป็นครูใหญ่โรงเรียนบ้านปะกาลือสง  นายยิ่ง  แก้วมณีโชติ รักษาการแทนครูใหญ่โรงเรียนบ้าน ปะกาลือสง ย้ายมารักษาการแทนครูใหญ่โรงเรียนนี้

       มกราคม ๒๕๐๑ นางอนงค์  สืบประดิษฐ์ ย้ายไปเป็นครูใหญ่โรงเรียนบ้านตุยง(เพชรานุกูลกิจ) ตามหนังสืออำเภอที่ ๒๗/๒๕๐๑ ลงวันที่ ๘ มกราคม ๒๕๐๑ เป็นการชั่วคราว บรรจุ นางสาวอนงค์ ทิพย์ด้วง (เรืองเกลี้ยง) ย้ายไปรับราชการสังกัดอำเภอควนขนุนตามคำสั่งที่ ๘๔/๒๕๐๓ ลงวันที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๐๓

            ๓ ตุลาคม ๒๕๐๓  นายยิ่ง  แก้วมณีโชติ  รักษาการแทนครูใหญ่ย้ายไปรักษาการแทนครูใหญ่วัดสุวรรณากร
๒ ตุลาคม ๒๕๐๓ นายนอง  ทองช่วย ครูใหญ่โรงเรียนวัดสุวรรณากร ย้ายมาเป็นครูใหญ่โรงเรียนนี้เป็นการชั่วคราวตามหนังสืออำเภอที่ ๕๒๔/๒๕๐๓ ลงวันที่ ๒๖ กันยายน ๒๕๐๓

       ๑ มิถุนายน ๒๕๐๔ นายนอง  ทองช่วย ครูใหญ่ย้ายไปช่วยราชการแผนกศึกษาธิการอำเภอ   หนองจิกตามหนังสืออำเภอที่ ๒๐๖/๒๕๐๔

       แต่งตั้งนางสาวกลอยใจ  อินทสุวรรณ (กลอยใจ  จิระรัตน์) ครูโรงเรียนบ้านน้ำดำมาช่วยราชการโรงเรียนนี้ตามหนังสืออำเภอที่ ๓๓๕/๒๕๐๔ ลงวันที่ ๒ กรกฎาคม ๒๕๐๔

      ๑ เมษายน ๒๕๐๕ แต่งตั้ง นายนิเวศ  แข็งแรง ครูช่วยงานแผนกศึกษาธิการอำเภอหนองจิก
ดำรงตำแหน่งครูในโรงเรียนนี้

      ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๐๕ จังหวัดแต่งตั้งนายนิเวศ  แข็งแรง ครูโรงเรียนนี้ดำรงตำแหน่งครูใหญ่โรงเรียนเดิมตามคำสั่งจังหวัดที่ ๑๒๙/๒๕๐๕ ลงวันที่ ๑ เมษายน ๒๕๐๕

      ๒ กันยายน ๒๕๐๕ กรมสามัญศึกษาแต่งตั้งให้นางจันทร์ฉาย  ช่วยธรรมรัตน์ ครูโรงเรียนบ้าน   โคกเสม็ดชุน  (เฮงเสียงสามัคคี) หาดใหญ่ดำรงตำแหน่งครูโรงเรียนนี้ตามคำสั่งกรมสามัญที่ ส.๕๙๐/๒๕๐๕ ลงวันที่ ๑ สิงหาคม ๒๕๐๕

     ๑๗ กันยายน ๒๕๐๕   อำเภอให้นางจันทร์ฉาย  ช่วยธรรมรัตน์  ไปช่วยราชการ  โรงเรียนบ้านตุยง ( เพชรานุกูลกิจ) เป็นการชั่วคราว ตามหนังสืออำเภอที่  ๔๔๗/๒๕๐๕ ลงวันที่ ๙ กันยายน ๒๕๐๕

     ๓ มิถุนายน ๒๕๐๖  แต่งตั้งนางสาวพงา  ผ่องอำไพ ( นางพะงา ฉิมทับ ) มาเป็นครูโรงเรียนนี้   ตามหนังสืออำเภอที่ ๙๙๒/๒๕๐๖ ลงวันที่ ๓ มิถุนายน ๒๕๐๖ โดยจังหวัดบรรจุตั้งแต่วันที่ ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๐๖  ตามคำสั่งจังหวัดที่ ๒๑๔/๒๕๐๖ ลงวันที่ ๑๘ มิถุนายน ๒๕๐๖

    ๓ กรกฎาคม ๒๕๐๖  นายลิ่ม  คงชู  ครูโรงเรียนบ้านมะกอ อำเภอสายบุรี ได้ย้ายมาดำรงตำแหน่งครูโรงเรียนนี้ตามคำสั่งจังหวัดที่ ๑๘๐/๒๕๐๖ ลงวันที่  ๖ มิถุนายน ๒๕๐๖  โดยสั่งให้เข้ารับหนาที่ตั้งแต่วันที่ ๑ มิถุนายน ๒๕๐๖

    ๘ สิงหาคม ๒๕๐๖  ได้รับงบประมาณสำหรับปลูกสร้างอาคารเรียนชั้นเด็กเล็กจำนวน ๑ ห้อง    เงิน ๑๐,๐๐๐บาท  แต่สถานที่เดิมคับแคบและตั้งอยู่ริมทะเลไม่เป็นการปลอดภัยจึงได้ประชุมกรรมการศึกษาขอย้ายสถานที่ปลูกสร้างใหม่ที่ประชุมได้ตกลงให้ปลูกสร้างในที่ดินของวัดสถิตย์ชลธาร ซึ่งได้รับอนุญาตจากท่านเจ้าคุณมุจลินทโมลี เจ้าอาวาส วัดมุจลินทวาปีวิหาร คณะครูและราษฎร ได้ช่วยกัน รื้อถอนโรงเรียนหลังเก่ามาทำการปลูกสร้างใหม่ในที่ดินของวัดสถิตย์ชลธาร  โดยสร้างต่อจากชั้นเด็กเล็กในระหว่างที่ทำการรื้อถอนและทำการปลูกสร้างใหม่นี้ได้อาศัยสถานที่ของวัดทำการสอนเป็นการชั่วคราว

         ๑๒ ธันวาคม ๒๕๐๖ ชั้นเด็กเล็กสร้างเสร็จได้ให้นักเรียน เข้าเรียน ๒ ห้องเรียนและเรียนที่ศาลาการเปรียญ ๒ ห้องเรียน เนื่องจากอาคารเก่าที่รื้อมาสร้างยังไม่เสร็จ

      ๒๑ พฤษภาคม ๒๕๐๗ นายสุนทร   จิตมั่น ครูโรงเรียนบ้านปานัน อำเภอมายอ รายงานตัวตามหนังสืออำเภอที่ ป.น.๕๓/๘๕๓ ลงวันที่ ๒๐ พฤษภาคม ๒๕๐๗ ลงวันที่ ๑๘ กันยายน ๒๕๐๗ ซึ่งจังหวัดสั่งแต่งตั้งมาดำรงตำแหน่งครูโรงเรียนบ้านบางตาวาแต่อาคารเรียนยังสร้างไม่เสร็จยังไม่ได้เปิดทำการสอนจึงให้ทำการสอนในโรงเรียนนี้ชั่วคราว

      ๒๑ กันยายน ๒๕๐๗ นายสุนทร  จิตมั่น ย้ายไปดำรงตำแหน่งครูโรงเรียนบ้านปากบางตาวา ตามหนังสืออำเภอที่ ปน.๕๓/๑๗๒๘ ลงวันที่ ๑๘ กันยายน ๒๕๐๗

     ๒๐ ธันวาคม ๒๕๐๘ อำเภอส่งนาย พงศ์ไทย  วัยสุวรรณ  ครูโรงเรียนบ้านบางราพา อำเภอหนองจิกมาช่วยราชการในโรงเรียนนี้ตามหนังสืออำเภอที่ ป.น. ๕๓/๒๕๐๘ ลงวันที่ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๐๘

      ๘ กรกฎาคม ๒๕๐๙   ครูปฏิบัติการพิเศษที่ ๕๑ ( ศ.ป.ศ.๕๑) ได้ทำพิธีมอบอาคารเรียน ที่ได้ช่วยเหลือปลูกสร้างต่อเติมโรงเรียนหลังเก่าที่ยังค้างการก่อสร้างอยู่เริ่มปฏิบัติงานตั้งแต่วันที่ ๒๒ ธันวาคม ๒๕๐๘ จนถึงวันที่ ๗ มกราคม ๒๕๐๙ จึงแล้วเสร็จแต่ยังไม่ได้ลาดพื้นจึงได้ทำพิธีส่งมอบโดยมีนายประกฤตเกตุทัต  สรรพากรจังหวัดเป็นประธานแทนผู้ว่าราชการจังหวัด

      ๙ มกราคม ๒๕๐๙ แยกนักเรียนลงไปเรียนที่ อาคารที่สร้างใหม่ ๔ ห้องเรียน และเรียนบนศาลาการเปรียญ๓ห้องเรียน

     ๕ กรกฎาคม ๒๕๑๐ ทางอำเภอส่งตัวนางสาวสุรีย์  ภิรมย์ศาสตร์กุล  มาเป็นครูช่วยสอนตามระเบียบครูช่วยสอน  ตามคำสั่งองค์การบริหารส่วนจังหวัดที่ ๗๐/๒๕๑๐ ลงวันที่ ๒๘ มิถุนายน ๒๕๑๐

     ๒๐ สิงหาคม ๒๕๑๑ ทางอำเภอสั่งให้ นางสาวสุรีย์  ภิรมย์ศาสตร์กุล  ครูช่วยสอนนอกจากหน้าที่ ตามที่ขอลาออกตามคำสั่งองค์การบริหารส่วนจังหวัดปัตตานี ที่ ๒๔๘/๒๕๑๑ ลงวันที่ ๑๙ สิงหาคม ๒๕๑๑ โดยพ้นจากตำแหน่งตั้งแต่วันที่ ๑ สิงหาคม ๒๕๑๑

    ๑๗ ตุลาคม ๒๕๑๒ ได้รับงบประมาณสร้างอาคารเรียนแบบ ป.๑ ก. จำนวน ๑ หลัง ๔ ห้องเรียน
  ๑ พฤษภาคม ๒๕๑๘ ได้รับงบประมาณสร้างอาคารเรียน แบบ ป.๑ ก จำนวน ๑ หลัง ๓ ห้องเรียน พร้อมส้วม ๔ ที่นั่ง

   ๔ พฤษภาคม ๒๕๒๐ ได้รับงบประมาณสร้างอาคารเรียนแบบ ป. ๑ ก. จำนวน ๑ หลัง ๒ ห้องเรียน สำหรับใช้เป็นห้องเรียนชั้นเด็กเล็ก

  พ.ศ. ๒๕๒๒  ได้รับงบประมาณสร้างโรงฝึกงานจำนวน ๑ หลัง
  พ.ศ. ๒๕๒๕ ได้รับงบประมาณสร้างส้วมแบบ ส.ป.ช. ๐๐๑/๒๖ จำนวน ๑ หลัง ๓ ที่นั่ง
  พ.ศ. ๒๕๒๗ ได้รับงบประมาณจากกรมประมง สร้างบ่อปลาให้โรงเรียนจำนวน ๑ บ่อ ตามโครงการพัฒนาหมู่บ้านยากจนมีขนาด ๑๐x๙๒ เมตร ราคา ๗,๔๐๐ บาท จุปลาได้ประมาณ ๑๐,๐๐๐ ตัว

   พ.ศ. ๒๕๒๘ ได้รับงบประมาณสร้างอาคารอเนกประสงค์แบบ ศ.ป.ศ. ๒๐๑/๒๖ จำนวน ๑ หลัง ขนาด ๑๐x๒๐ เมตร ราคา ๒๐๐,๐๐๐ บาท

   พ.ศ. ๒๕๒๙ ทางโรงเรียนได้รับการพิจารณาคัดเลือกเข้าโครงการ กศ.พช. ได้รับงบประมาณสนับสนุน ๑๐,๐๐๐ บาท

   พ.ศ. ๒๕๓๐ กรมทรัพยากรธรณีได้สร้างบ่อบาดาลให้  ๑ บ่อ ลึก ๑๒๕ เมตร พร้อมติดตั้ง สูบโยกราคาประมาณ ๑๐๐,๐๐๐  บาท ซึ่งต่อมา พ.ศ. ๒๕๓๓ นายเพิ่ม  พรหมสะอาด รักษาการในตำแหน่งอาจารย์ใหญ่เห็นว่าสูบโยกนี้เสียหายเนื่องจากใช้งานมานาน จึงได้ติดต่อกรมทรัพยากรธรณีให้ยกสูบโยกออกไปและดัดแปลงใช้เครื่องสูบไฟฟ้า ๕ แรง สูบน้ำใส่เครื่องกรอง ซึ่งมีความสูงประมาณ ๖ เมตร สามารถส่งน้ำใช้ทั่วบริเวณโรงเรียนและติดตั้งท่อน้ำไปใช้ในวัดปัจจุบันบ่อบาดาลและเครื่องสูบไฟฟ้าชำรุดใช้การไม่ได้และโรงเรียนได้ทำการรื้อถอน

   พ.ศ. ๒๕๓๓ โรงเรียนได้เปลี่ยนจัดการเรียนการสอนจากหลักสูตรประถมศึกษา ๒๕๒๑ เป็นหลักสูตรประถมศึกษา ๒๕๒๑ (ฉบับปรับปรุง ๒๕๓๓) ทำการสอนครบทุกชั้นโดยเป็นโรงเรียนนำร่องหลักสูตรใหม่ฉบับปรับปรุงเป็น ๑ ใน ๕ โรงเรียนของจังหวัดปัตตานีมาจนถึง ปัจจุบันนี้

    ๑๗ กันยายน ๒๕๓๙ ทางโรงเรียนได้รับงบประมาณ  ๑,๖๕๐,๐๐๐  บาท (หนึ่งล้านห